top of page
Search
Writer's pictureThai Medical Law Office

การผ่าศพต้องขออนุญาตหรือไม่?

เมื่อมีการตายเกิดขึ้นใน 2 กรณี คือ

1. การตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน 2. การตายโดยผิดธรรมชาติ จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย 5 กรณี ได้แก่ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ถูกสัตว์ทำร้ายตาย *ตายโดยอุบัติเหตุ* หรือ ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 148 จะ "ต้อง" มีการชันสูตรพลิกศพ โดยเจ้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่ร่วมกับแพทย์นิติเวชหรือแพทย์ลำดับถัดไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 150


และ เมื่อ "มีความจำเป็น" เพื่อพบ "เหตุของการตาย (cause of death)" เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ อันหมายถึง เจ้าพนักงานสอบสวนร่วมกับแพทย์ฯ (แต่ในทางปฏิบัติ จะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวน เนื่องจาก ระบบการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทย เป็น ระบบตำรวจ [police system]) มี ***อำนาจ*** สั่งให้ผ่าศพแล้ว "แยกธาตุ" ส่วนใด หรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของ *รัฐบาล* ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 151


ดังนี้ จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้อง "ขออนุญาต" ผู้ใดก่อนชันสูตรพลิกศพหรือส่งผ่าศพแยกธาตุ เนื่องจาก กฎหมายได้ให้ "อำนาจ" แก่เจ้าหน้าที่ฯไว้ ดังกล่าว


อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ โดยความเคารพและธำรงไว้ซึ่งมารยาทและวัฒนธรรมอันดีงาม เจ้าหน้าที่ฯมักจะแจ้งและขออนุญาตผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนเสมอ


งกระนั้น หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง "ไม่อนุญาต" ให้ชันสูตรพลิกศพหรือผ่าศพ นั้นมิอาจกระทำได้ เนื่องจาก การกระทำดังกล่าวเป็นหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ฯ ดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

Recent Posts

See All

ประเด็นพิพาทจาก "ใบรับรองแพทย์"

ว่าด้วยเรื่อง "ใบรับรองแพทย์" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษากฎหมายในกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอยู่กรณีหนึ่ง...

“สินสอด” (คุณหมอ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงที่รับสินสอดนั้น ควร/ต้อง คืนสินสอดกลับให้แก่คู่บ่าวสาวเพื่อตั้งต้นชีวิตใหม่หรือไม่? เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 1437 วรรคสาม...

Comments


bottom of page